เมื่อเจริญอานาปานสติ ก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ

ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรง
สติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก:
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;

เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม
เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขาร
ให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้
รำงับอยู่ หายใจออก”;
เมื่อภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตน
ส่งไปแล้วในการทำเช่นนั้นอยู่ ย่อมละความระลึกและ
ความดำริอันอาศัยเรือนเสียได้
เพราะละความระลึกและความดำรินั้นได้ จิตของเธอ
ก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น
เป็นสมาธิอยู่ในภายในนั่นเทียว.

ภิกษุ ท. ! แม้อย่างนี้ ภิกษุนั้นก็ชื่อว่า
เจริญกายคตาสติ

กายคตาสติสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๒๐๔/๒๙๔.

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment