สติปัฏฐานบริบูรณ์ ย่อมทำโพชฌงค์ให้บริบูรณ์

ภิกษุ ท. ! ก็สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์
ได้ ?


ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นกายในกาย
อยู่เป็นประจำก็ดี, เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย
อยู่เป็นประจำก็ดี; เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำก็ดี;
เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำก็ดี;
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกออกเสียได้; สมัยนั้น สติที่ภิกษุเข้าไป
ตั้งไว้แล้ว ก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง.

ภิกษุ ท. ! สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว
เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง, สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์
ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว; สมัยนั้นภิกษุชื่อว่า
ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์; สมัยนั้นสติสัมโพชฌงค์ของ
ภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ; ภิกษุนั้น
เมื่อเป็น ผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ชื่อว่าย่อมทำการเลือก ย่อมทำ
การเฟ้น ย่อมทำการใคร่ครวญซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา.

ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่
ทำการเลือกเฟ้น ทำการใคร่ครวญซึ่งธรรมนั้นอยู่ด้วยปัญญา,
สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว;
สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์;
สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความ
เต็มรอบแห่งการเจริญ. ภิกษุนั้น เมื่อเลือกเฟ้น ใคร่ครวญ
ซึ่งธรรมนั้น ด้วยปัญญาอยู่ ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน
ก็ชื่อว่าเป็นธรรมอันภิกษุนั้นปรารภแล้ว.

ภิกษุ ท. ! สมัยใด ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน อัน
ภิกษุผู้เลือกเฟ้น ใคร่ครวญธรรมด้วยปัญญาได้ปรารภแล้ว;
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว;
สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์; สมัยนนั้
วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่ง
การเจริญ. ภิกษุนั้น เมื่อมีความเพียรอันปรารภแล้ว
เช่นนั้น ปีติอันเป็นนิรามิส (ไม่อิงอามิส) ก็เกิดขึ้น.

ภิกษุ ท. ! สมัยใด ปีติอันเป็นนิรามิส เกิดขึ้นแก่
ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว; สมัยนั้นปีติสัมโพชฌงค์
ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว; สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์; สมัยนั้นปีติสัมโพชฌงค์ของ
ภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ. ภิกษุนั้น
เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ แม้กายก็รำงับ แม้จิตก็รำงับ.

ภิกษุ ท. ! สมัยใด ทั้งกายและทั้งจิตของ
ภิกษุผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมรำงับ; สมัยนั้น
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว;
สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์;
สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึง
ความเต็มรอบแห่งการเจริญ. ภิกษุนั้น เมื่อมีกายอันรำงับแล้ว
มีความสุขอยู่ จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ.

ภิกษุ ท. ! สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกาย
อันรำงับแล้วมีความสุขอยู่ ย่อมเป็นจิตตั้งมั่น; สมัยนั้น
สมาธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว; สมัยนั้น
ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์; สมัยนั้น
สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบ
แห่งการเจริญ. ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นเป็นอย่างดี.

ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ
ซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น เป็นอย่างดี; สมัยนั้น
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว;
สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์;
สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความ
เต็มรอบแห่งการเจริญ.

ภิกษุ ท. ! สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้
บริบูรณ์ได้.

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment