เหตุให้ทุคติปรากฏ (เหตุที่ทำให้ไปนรก)

จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางกาย มี ๓ อย่าง

ความไม่สะอาดทางวาจา มี ๔ อย่าง

ความไม่สะอาดทางใจ มี ๓ อย่าง.

จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางกาย มี ๓ อย่าง

เป็นอย่างไรเล่า ? จุนทะ ! คนบางคนในกรณีนี้

(๑) เป็นผู้มีปกติทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงหยาบช้า

มีฝ่ามือเปื้อนด้วยโลหิต มีแต่การฆ่าและการทุบตีไม่มี

ความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิต

(๒) เป็นผู้มีปกติถือเอาสิ่งของที่มีเจ้าของมิได้ให ้

คือวัตถุอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของบุคคลอื่นที่อยู่ในบ้านหรือในป่า

ก็ตามเป็นผู้ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย

(๓) เป็นผู้มีปกติประพฤติผิดในกาม (คือ

ประพฤติผิด) ในหญิงซึ่งมารดารักษา บิดารักษา พี่น้องชาย

พี่น้องหญิงหรือญาติรักษา อันธรรมรักษา เป็นหญิงมีสามี

หญิงอยู่ในสินไหม โดยที่สุดแม้หญิงอันเขาหมั้นไว้ (ด้วย

การคล้องพวงมาลัย) เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตในรูปแบบเหล่านั้น

จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความไม่สะอาดทางกาย

๓ อย่าง.




จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางวาจา มี ๔ อย่าง

เป็นอย่างไรเล่า ? จุนทะ ! คนบางคนในกรณีนี้

(๑) เป็นผู้มีปกติกล่าวเท็จไปสู่สภาก็ดี ไปสู่บริษัท

ก็ดี ไปสูท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี ไปสูท่ามกลางศาลาประชาคม

ก็ดี ไปสูท่ามกลางราชสกุลก็ดี อันเขานำไปเป็นพยาน ถามว่า

“บุรุษผู้เจริญ ! ท่านรู้อย่างไร ท่านจงกล่าวไปอย่างนั้น”

ดังนี้ บุรุษนั้น เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อรู้ก็กล่าวว่าไม่รู้

เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่า เห็น เมื่อเห็นก็กล่าวไม่เห็น เพราะเหตุ

ตนเอง เพราะเหตุผู้อื่นหรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสไรๆ

ก็เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่

(๒) เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด คือฟังจากฝ่ายนี้แล้ว

ไปบอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังจากฝ่ายโน้นแล้ว

มาบอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น เป็นผู้ทำคนที่สามัคคีกัน

ให้แตกกัน หรือทำคนที่แตกกันแล้วให้แตกกันยิ่งขึ้น พอใจ

ยินดี เพลิดเพลินในการแตกกันเป็นพวก เป็นผู้กล่าววาจา

ที่กระทำให้แตกกันเป็นพวก

(๓) เป็นผู้มีวาจาหยาบ อันเป็นวาจาหยาบคาย

กล้าแข็ง แสบเผ็ดต่อผู้อื่น กระทบกระเทียบผู้อื่น แวดล้อม

อยู่ด้วยความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ เขาเป็นผู้กล่าววาจา

มีรูปลักษณะเช่นนั้น


(๔) เป็นผู้มีวาจาเพ้อเจ้อคือเป็นผู้กล่าวไม่ถูกกาล

ไม่กล่าวตามจริง กล่าวไม่อิงอรรถ ไม่อิงธรรม ไม่อิงวินัย

เป็นผู้กล่าววาจาไม่มีที่ตั้งอาศัย ไม่ถูกกาลเทศะ ไม่มีจุดจบ

ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความไม่สะอาดทางวาจา

๔ อย่าง.




จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางใจ มี ๓ อย่าง

เป็นอย่างไรเล่า ? จุนทะ ! คนบางคนในกรณีนีี้

(๑) เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา (ความโลภเพ่งเล็ง)

เป็นผู้โลภเพ่งเล็งวัตถุอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของผู้อื่น ว่า

“สิ่งใดเป็นของผู้อื่น สิ่งนั้นจงเป็นของเรา” ดังนี้

(๒) เป็นผู้มีจิตพยาบาท มีความดำริในใจเป็นไป

ในทางประทุษร้าย ว่า “สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้จงเดือดร้อนจง

แตกทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศ อย่าได้มีอยู่เลย” ดังนี้เป็นต้น

(๓) เป็นผู้มีความเห็นผิด มีทัสสนะวิปริตว่า

“ทานที่ให้แล้วไม่มี(ผล), ยัญที่บูชาแล้วไม่มี(ผล), การบูชา

ที่บูชาแล้ว ไม่มี (ผล), ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว

ไม่มี, โลกนี้ ไม่มี, โลกอื่น ไม่มี, มารดา ไม่มี, บิดา ไม่มี,

โอปปาติกะสัตว์ ไม่มี, สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ

ปฏิบัติโดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น

ด้วยปัญญาโดยชอบเอง แล้ว ประกาศใหผู้อื่นรู ้ ก็ไม่มี” ดังนี้

จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความไม่สะอาดทางใจ

๓ อย่าง.




จุนทะ ! เหล่านี้แล เรียกว่า อกุศลกรรมบถสิบ.

จุนทะ ! อนึ่ง เพราะมีการประกอบด้วยอกุศล-

กรรมบถทั้งสิบประการเหล่านี้เป็นเหตุ นรกย่อมปรากฏ

กำเนิดเดรัจฉานย่อมปรากฏ เปรตวิสัยย่อมปรากฏ หรือ

ว่าทุคติใดๆ แม้อื่นอีก ย่อมมี.

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม

๑๐ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นเหมือนบุคคลผู้ถูกนำตัว

ไปเก็บไว้ในนรก.




ทสก. อํ. ๒๔/๒๘๕-๒๘๗/๑๖๕.

ทสก. อํ. ๒๔/๓๐๕/๑๘๙.




(สูตรอื่นๆ แทนที่จะนับจำนวนกรรมบถมี ๑๐ ได้ทรงขยาย

ออกไปเป็น ๒๐ คือ ทำเองสิบ ชักชวนผู้อื่นให้ทำอีกสิบ และทรง

ขยายออกไปเป็น ๓๐ คือ ทำเองสิบ ชักชวนผู้อื่นให้ทำสิบ ยินดี

เมื่อเขาทำสิบ และทรงขยายออกไปเป็น ๔๐ คือ ทำเองสิบ ชักชวน

ผู้อื่นให้ทำสิบ ยินดีเมื่อเขาทำสิบ สรรเสริญผู้กระทำสิบ ; จึงมี

กรรมบถ สิบ ยี่สิบ สามสิบ สี่สิบ. ทสก. อํ. ๒๔/๓๕๒–๓๓๒/๑๙๘–๒๐๑.

ในสูตรอื่น แสดงผลแห่งการกระทำแปลกออกไป จาก

คำว่า “เหมือนถูกนำไปเก็บไว้ในนรก” นั้น ทรงแสดงด้วยคำว่า

“เป็นผู้ขุดรากตนเอง” ก็มี, “ตายแล้ว ไปทุคติ” ก็มี, “เป็น พาล” ก็มี.

ทสก. อํ. ๒๔/๓๓๒-๓๓๓/๒๐๒–๒๐๓.)

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment