ขยายความ ทิฏฐุปาทาน

ทิฏฐุปาทาน ยึด มั่นด้วยทิฎฐิ คือความคิดความเห็น ซึ่งเป็นอุปาทานข้อที่สองนั้น ก็เป็นสิ่งที่พอจะมองเห็นและเข้าใจได้ไม่ยากนักเหมือนกัน พอเราเกิดมาในโลก เราก็ต้องได้รับการศึกษาอบรม ให้เกิดเป็นความเห็น ชนิดที่เรียกว่า ทิฎฐิ ความ เห็นชนิดนี้ คนทุกคนจะต้องยึดมั่นของตนด้วยกันทั้งนั้น
อยู่ในลักษณะที่อาจจะจัดเป็นสัญชาตญาณ กล่าวอย่างนี้ก็ไม่ผิด ลักษณะที่ยึดมั่นด้วยทิฏฐิความคิดความเห็นของตนนี้ เป็นไปตามธรรมชาติ เราไม่ติเตียนกันนัก และเป็นสิ่งที่ห้ามไม่ได้ เพราะเป็นไปตามธรรมชาติ แต่ถ้าเรามองให้ดี ก็จะเห็นเป็นโทษเป็นภัยที่ร้ายกาจอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน คือไม่น้อยไปกว่ากามุปาทาน ถ้าคนเรายึดมั่นในทิฏฐิความคิดความเห็นเดิมๆของตัวอย่างใดตัวอย่างหนึ่ง เป็นคนดื้อดึงโดยเด็ดขาดแล้ว ก็แปลว่าจะต้องได้รับความวินาศ เราจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงทิฏฐิความคิดเห็นของเรานี้ให้ถูกยิ่งๆขึ้นให้ดีให้สูงยิ่ง ขึ้น แม้ว่าเราจะยังคงยึดถือทิฏฐิอยู่ก็ตาม เราจะต้องปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น คือจากมิจฉาทิฏฐิ ให้ค่อยๆกลายมาเป็นสัมมาทิฏฐิและยิ่งๆขึ้น จนเป็นสัมมาทิฏฐิถึงที่สุด ชนิดที่รู้อริยสัจ”

“ทิฏฐิ ที่เป็นเหตุแห่งความดื้อรั้น มีมูลมาจากทางหลายๆทาง แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้ว มักจะเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี หรือลัทธิศาสนาเป็นส่วนใหญ่ เมื่อกล่าวดังนี้ ก็พอจะเข้าใจกันได้ว่า สิ่งใดที่เราเห็นว่าถูกที่สุด หรือดีที่สุด สิ่งนั้นเราก็ยึดถือมากที่สุด ความยึดมั่น ถือ มั่นเกี่ยวกับทิฏฐิ จึงมักจะต้องตกไปตามขนบธรรมเนียมประเพณี หรือลัทธิศาสนา ซึ่งเป็นที่มีไว้แสดงถึงสิ่งที่ถือว่าดีที่สุด ส่วนที่จะมีทิฏฐิดื้อรั้นเป็นของส่วนตัวเองล้วนๆนั้นยังไม่เท่าไร ยังไม่มากมายเท่ากับที่งอกงามมาจากขนบธรรมเนียมประเพณีหรือศาสนา ที่ค่อยๆอบรมสะสมกันมากขึ้น ๆ ยังมีข้อที่ยิ่งไปกว่านั้นอีก : ทิฏฐิต่างๆนี้ ยังเกี่ยวกับความไม่รู้ที่เรียกว่า อวิชชา...”เมื่อ มีความไม่รู้ ก็มีความเข้าใจเอาเองตามอำนาจกิเลสพื้นฐาน ว่าสิ่งนี้น่ารัก สิ่งนี้น่ายึดถือ สิ่งนี้เที่ยงแท้ถาวร สิ่งนี้เป็นความสุข สิ่งนี้เป็นตัวเป็นตน แทนที่จะเห็นว่าสังขารเหล่านั้นเป็นของปฏิกูล เป็นมายา เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กลับเห็นว่าเป็นของถูกต้อง ของดีงามตามความเห็นของตน บางทีก็เห็นว่าผิด แต่ก็ยอมให้ไม่ได้ เพราะยังสงวนทิฏฐิ ความเป็นผู้ดื้อดึงอย่างนี้ นับว่าเป็นอุปสรรค หรือศัตรูของคนเราอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้ เพราะเหตุนี้ จึงถือว่าทิฎฐิเป็นกิเลสตัวร้ายกาจ เป็นสิ่งที่น่าอันตรายที่สุดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะถือเป็นของเล็กน้อยไม่ได้ จะต้องพยายามอย่างยิ่ง ให้หน่าย ให้จาง และให้หลุดถอน...” 


ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล http://suwalaiporn.com.www.readyplanet.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=131993&Ntype=2


 

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment