ภิกษุ ท. ! กรรม ๔ อย่างเหล่านี้ เรากระทำให้
แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้รู้ทั่วกัน.
กรรม ๔ อย่าง อย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! กรรมดำ มีวิบากดำ ก็มีอยู่.
ภิกษุ ท. ! กรรมขาว มีวิบากขาว ก็มีอยู่.
ภิกษุ ท. ! กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ก็มีอยู่.
ภิกษุ ท. ! กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ก็มีอยู่.
ภิกษุ ท. ! กรรมดำ มีวิบากดำ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมทำความ
ปรุงแต่งทางกาย อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน
ย่อมทำความปรุงแต่งทางวาจา อันเป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียน. ย่อมทำความปรุงแต่งทางใจ อันเป็นไปกับ
ด้วยความเบียดเบียน. ครั้นเขาทำความปรุงแต่ง (ทั้งสาม)
ดังนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลก อันเป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียน ; ผัสสะทั้งหลาย อันเป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียน ย่อมถูกต้องเขาซึ่งเป็นผู้เข้าถึงโลกอันเป็นไป
ด้วยความเบียดเบียน ; เขาอันผัสสะที่เป็นไปกับด้วย
ความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาที่เป็นไป
ด้วยความเบียดเบียน อันเป็นทุกข์โดยส่วนเดียว, ดังเช่น
พวกสัตว์นรก.
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่ากรรมดำ มีวิบากดำ.
ภิกษุ ท. ! กรรมขาว มีวิบากขาว เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมทำความ
ปรุงแต่งทางกาย อันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน,
ย่อมทำความปรุงแต่งทางวาจา อันไม่เป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียน, ย่อมทำความปรุงแต่งทางใจ อันไม่เป็นไปกับ
ด้วยความเบียดเบียน, ครั้นเขาทำความปรุงแต่ง (ทั้งสาม)
ดังนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลก อันไม่เป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียน ; ผัสสะทั้งหลายที่ไม่เป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียน ย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงโลกอันไม่เป็นไป
กับด้วยความเบียดเบียน ; เขาอันผัสสะที่ไม่เป็นไปกับ
ด้วยความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาที่ไม่
เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน อันเป็นสุขโดยส่วนเดียว,
ดังเช่นพวกเทพสุภกิณหา.
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่ากรรมขาว มีวิบากขาว.
ภิกษุ ท. ! กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้ง
ขาว เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมทำความ
ปรุงแต่งทางกาย อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง
ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง, ย่อมทำความปรุงแต่ง
ทางวาจา อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่
เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง, ย่อมทำความปรุงแต่ง
ทางใจ อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไป
กับด้วยความเบียดเบียนบ้าง, ครั้นเขาทำความปรุงแต่ง
(ทั้งสาม) ดังนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันเป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง;
ผัสสะทั้งหลายที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่
เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึง
โลกอันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับ
ด้วยความเบียดเบียนบ้าง; เขาอันผัสสะที่เป็นไปกับด้วย
ความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง
ถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาที่เป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง อัน
เป็นเวทนาที่เป็นสุขและทุกข์เจือกัน, ดังเช่น พวกมนุษย์
พวกเทพบางพวก พวกวินิบาตบางพวก.
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำทั้งขาว มี
วิบากทั้งดำทั้งขาว.
ภิกษุ ท. ! กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่
ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)
สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)
สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)
สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ)
สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)
สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ).
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบาก
ไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม.
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล กรรม ๔ อย่าง ที่เราทำให้
แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้รู้ทั่วกัน.
จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๒๐-๓๒๑/๒๓๗.
ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมทำความ
ปรุงแต่งทางกาย อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน
ย่อมทำความปรุงแต่งทางวาจา อันเป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียน. ย่อมทำความปรุงแต่งทางใจ อันเป็นไปกับ
ด้วยความเบียดเบียน. ครั้นเขาทำความปรุงแต่ง (ทั้งสาม)
ดังนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลก อันเป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียน ; ผัสสะทั้งหลาย อันเป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียน ย่อมถูกต้องเขาซึ่งเป็นผู้เข้าถึงโลกอันเป็นไป
ด้วยความเบียดเบียน ; เขาอันผัสสะที่เป็นไปกับด้วย
ความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาที่เป็นไป
ด้วยความเบียดเบียน อันเป็นทุกข์โดยส่วนเดียว, ดังเช่น
พวกสัตว์นรก.
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่ากรรมดำ มีวิบากดำ.
ภิกษุ ท. ! กรรมขาว มีวิบากขาว เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมทำความ
ปรุงแต่งทางกาย อันไม่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน,
ย่อมทำความปรุงแต่งทางวาจา อันไม่เป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียน, ย่อมทำความปรุงแต่งทางใจ อันไม่เป็นไปกับ
ด้วยความเบียดเบียน, ครั้นเขาทำความปรุงแต่ง (ทั้งสาม)
ดังนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลก อันไม่เป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียน ; ผัสสะทั้งหลายที่ไม่เป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียน ย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงโลกอันไม่เป็นไป
กับด้วยความเบียดเบียน ; เขาอันผัสสะที่ไม่เป็นไปกับ
ด้วยความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาที่ไม่
เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน อันเป็นสุขโดยส่วนเดียว,
ดังเช่นพวกเทพสุภกิณหา.
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่ากรรมขาว มีวิบากขาว.
ภิกษุ ท. ! กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้ง
ขาว เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ย่อมทำความ
ปรุงแต่งทางกาย อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง
ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง, ย่อมทำความปรุงแต่ง
ทางวาจา อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่
เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง, ย่อมทำความปรุงแต่ง
ทางใจ อันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไป
กับด้วยความเบียดเบียนบ้าง, ครั้นเขาทำความปรุงแต่ง
(ทั้งสาม) ดังนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันเป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง;
ผัสสะทั้งหลายที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่
เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึง
โลกอันเป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปกับ
ด้วยความเบียดเบียนบ้าง; เขาอันผัสสะที่เป็นไปกับด้วย
ความเบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง
ถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาที่เป็นไปกับด้วยความ
เบียดเบียนบ้าง ไม่เป็นไปด้วยความเบียดเบียนบ้าง อัน
เป็นเวทนาที่เป็นสุขและทุกข์เจือกัน, ดังเช่น พวกมนุษย์
พวกเทพบางพวก พวกวินิบาตบางพวก.
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำทั้งขาว มี
วิบากทั้งดำทั้งขาว.
ภิกษุ ท. ! กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่
ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)
สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)
สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)
สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ)
สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)
สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ).
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบาก
ไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม.
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล กรรม ๔ อย่าง ที่เราทำให้
แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้รู้ทั่วกัน.
จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๒๐-๓๒๑/๒๓๗.
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment